บทที่5
ปริมาณทางไฟฟ้า
ไฟฟ้ากระแสตรง DC หมายถึง "กระแสไฟฟ้าที่มีทิศทางไหลไปในทิศทางเดียวเสมอคือไหลจากขั้วบวกไปสู่ขั้วลบ (กระแสสมมุติ) กระแสจะไหลจากแหล่งกำเนิดไฟฟ้าผ่านตัวนำเข้าไปทำงานยังอุปกรณ์ไฟฟ้าแล้วไหลกลับแหล่งกำเนิดโดยไม่มีการไหลกลับขั้วจากลบไปบวก"
แหล่งกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรง
แหล่งกำเนิดไฟฟ้า คือ แหล่งกำเนิดที่ทำให้เกิดความต่างศักย์ไฟฟ้าระหว่างปลายทั้งสองของตัวนำอยู่ตลอดเวลาและทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าผ่านตัวนำอยู่ตลอดเวลา ได้แก่ ถ่านไฟฉาย แบตเตอรี่ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า เป็นต้น
ในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ นั้นเราจะใช้งานและทำงานอยู่กับ ไฟฟ้ากระแสตรง DC ซะส่วนใหญ่ทำให้การออกแบบวิธีคำนวณต่างๆจึงไปทางนี้มากกว่า กระแสสลับครับ
สูตรการคำนวณต่างๆของวงจรไฟฟ้ากระแสตรง
กฎของโอห์ม (Ohm Law)
กล่าวว่า “ในวงจรไฟฟ้าใด ๆ กระแสไฟฟ้าจะแปรผันตรงกับแรงดันไฟฟ้าและจะแปรผกผัน
กับความต้านทาน” นั่นก็คือ

ความสัมพันธ์ระหว่างกระแสไฟฟ้า แรงดันไฟฟ้า และความต้านทาน
หากต้องการหากระแส I = E / R
หากต้องการหาแรงดัน E = I • R
หากต้องการหาความต้านทาน R = E / I
E คือ แรงดันไฟฟ้า หน่วยเป็น โวลต์(V.)
I คือ กระแสไฟฟ้า หน่วยเป็น แอมป์แปร์(A.)
R คือ ความต้านทานไฟฟ้า หน่วยเป็น โอห์ม(Ω)
การหาค่ากำลังไฟฟ้า

หากำลังไฟฟ้า P = E • I
หาแกรงดันไฟฟ้า E = P / I
หากระแสไฟฟ้า I = P/E
P คือ กำลังไฟฟ้า หน่วยเป็น วัตต์(W.)
E คือ แรงดันไฟฟ้า หน่วยเป็น โวลต์(V.)
I คือ กระแสไฟฟ้า หน่วยเป็น แอมแปร์(A.)
เรื่องของการต่อวงจรแบบต่างๆ
วงจรอนุกรม
คือ วงจรที่ประกอบด้วยความต้านทานตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไปต่อเรียงกัน โดยมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านความ ต้านทานนั้น ๆ เพียงเส้นเดียว

วงจรขนาน
คือ วงจรที่มีองค์ประกอบวงจรตั้งแต่สองตัวขึ้นไป โดยปลายทั้งสองข้างต่อคร่อมรวมกันที่ขั้วของแหล่งจ่าย

วงจรผสม
คือ วงจรที่ประกอบไปด้วยคุณลักษณะของวงจรอนุกรม และคุณลักษณะของวงจรขนานรวมอยู่ในวงจร เดียวกัน ซึ่งวงจรในลักษณะนี้จะมีอยู่มากมายในวงจรที่ใช้งานจริง และในการแก้ปัญหาในวงจรผสมนี้ จะต้องใช้คุณสมบัติของวงจรอนุกรมแก้ปัญหาในวงจรย่อยที่มีลักษณะอนุกรม และใช้คุณสมบัติของ วงจรขนานแก้ปัญหาวงจรย่อยที่มีลักษณะขนาน แล้วจึงนํามาหาผลรวมผลรวมสุดท้าย จึงจะได้ผล ของวงจรรวมที่เรียกว่า วงจรผสม